มาตรฐานการตีพิมพ์

มาตรฐานทางจริยธรรมการตีพิมพ์ (Journal of Ethics)

มาตรฐานทางจริยธรรมการตีพิมพ์บทความในวารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานจริยธรรมการตีพิมพ์ จึงกำหนดบทบาทและหน้าที่ของกองบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ และผู้ประเมิน ให้ปฏิบัติตามจริยธรรมการตีพิมพ์ ดังนี้

บทบาทและหน้าที่ของกองบรรณาธิการ (Duties of Editorial Board)

  1. ประกาศและหรือประชาสัมพันธ์นโยบายการดำเนินงานวารสาร สาขาวิชาที่รับตีพิมพ์ เกณฑ์การพิจารณาบทความ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ผู้นิพนธ์และสาธารณชนทราบ
  2. ประกาศอัตรา หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ที่ชัดเจนให้ผู้นิพนธ์และผู้สนใจอื่นรับทราบ ในกรณีที่วารสารกำหนดให้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว
  3. คัดเลือกผู้ประเมินที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ตรงกับสาขาวิชาของงานวิจัยและบทความที่กำหนดให้ประเมิน
  4. ตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นของบทความเกี่ยวกับ ความถูกต้องและความสมบูรณ์ของรูปแบบการพิมพ์ ความสอดคล้องกับสาขาวิชาที่วารสารรับตีพิมพ์ และคุณภาพของบทความในภาพรวม ก่อนกระบวนการประเมินโดยผู้ประเมินบทความ
  5. ดำเนินการในกระบวนการประเมินและรับรองคุณภาพของบทความตามขั้นตอนที่กำหนด ด้วยความยุติธรรมและปราศจากอคติ
  6. ไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความ ผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
  7. บริหารและดำเนินงานวารสารให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำวารสาร และพัฒนาคุณภาพวารสารที่รับผิดชอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้


บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (
Duties of Authors)

  1. จัดทำบทความวิจัย บทความวิชาการตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในคำแนะนำการเตรียมและส่งต้นฉบับวารสารวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร รวมทั้งปรับปรุง แก้ไขบทความตามคำแนะนำของผู้ประเมินและกองบรรณาธิการวารสาร
  2. รับผิดชอบต่อผลงานของตน และรับรองว่า บทความที่จัดทำไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดวารสารหนึ่งมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาให้ตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  3. รายงานข้อมูลที่ได้จากการทำวิจัยในบทความที่จัดทำตามหลักวิชาการ ไม่บิดเบือนหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ และเขียนเนื้อหาโดยการสังเคราะห์ความคิดโดยผู้นิพนธ์เอง ไม่ลอกเลียนหรือตัดทอนมาจากผลงานวิจัยของผู้อื่น หรือจากบทความอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือปราศจากการอ้างอิงที่เหมาะสม
  4. อ้างอิงผลงานของผู้อื่นที่ผู้นิพนธ์ได้ใช้ หรือประยุกต์ หรือดัดแปลงมาไว้ในบทความของตน ทั้งการอ้างอิงในเนื้อหา และการอ้างอิงท้ายบทความให้สอดคล้องกัน
  5. ระบุชื่อผู้มีส่วนร่วมในการนิพนธ์บทความให้ครบถ้วน และในชื่อผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้มีส่วนร่วมในบทความดังกล่าวจริง


บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมิน (Duties of Reviewers)

  1. รับประเมินบทความในสาขาที่ตนมีความเชี่ยวชาญตามเกณฑ์การพิจารณาที่วารสารกำหนด และประเมินคุณภาพของเนื้อหาและคุณภาพของบทความในภาพรวม ตามหลักวิชาการโดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวเป็นเกณฑ์
  2. ไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่รับประเมินแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
  3. ตรวจสอบการลอกเลียนผลงานวิชาการของผู้อื่น (Plagiarism) ในบทความที่รับพิจารณาให้ครบถ้วน โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ หากพบสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงการลอกเลียนผลงานอื่น ต้องรีบรายงานให้กองบรรณาธิการทราบ
  4. เสนอแนะผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับบทความที่รับพิจารณา เพื่อให้ผู้นิพนธ์มีโอกาสได้ศึกษาเพิ่มเติมและพัฒนาคุณภาพบทความ ในกรณีที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างอิงถึงผลงานวิจัยในเรื่องนั้น
  5. รักษาเวลาของการประเมินบทความวิจัยและหรือบทความวิชาการให้อยู่ในกรอบเวลาที่กองบรรณาธิการกำหนด