คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน เป็นวารสารวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวคิดทางคหกรรมศาสตร์และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการเผยแพร่และบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวทางคหกรรมศาสตร์ รับตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความวิชาการในสาขาคหกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย สาขาอาหารและโภชนาการ อุตสาหกรรมการบริการอาหาร เสื้อผ้าและสิ่งทอ ศิลปะประดิษฐ์ การจัดการบ้านเรือนและชุมชน พัฒนาการเด็กและครอบครัว ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และสาขาที่เกี่ยวข้อง

ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์

  1. บทความวิจัย (Research Article) เป็นงานเขียนทางวิชาการที่ประมวลสรุปกระบวนการวิจัยในผลงานวิจัยนั้นให้มีความกระชับ
  2. บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นงานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจนตามหลักวิชาการ จนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์เป็นประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประมวลร้อยเรียงและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

 

กำหนดการเผยแพร่ : ปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน)

ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน

ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม

 

ข้อกำหนดของวารสารและระเบียบการตีพิมพ์

  1. บทความที่ส่งเพื่อรับการพิจารณาต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดวารสารหนึ่งมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาให้ตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  2. การส่งต้นฉบับ ให้ผู้นิพนธ์ส่งต้นฉบับบทความพร้อมกับแบบฟอร์มการส่งต้นฉบับเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครที่มีข้อมูลครบถ้วน กรณีพบว่า ข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งไม่ครบถ้วน กองบรรณาธิการจะไม่พิจารณาบทความดังกล่าว
  3. บทความที่ผ่านการพิจารณาคุณภาพเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ จะได้รับการพิจารณาจากผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญตรงกับสาขาหรือเกี่ยวของกับสาขา จำนวน 3 ท่าน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนการตีพิมพ์ โดยใช้รูปแบบที่ผู้ประเมินบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double-Blind Peer Review)
  4. การรายงานข้อมูลที่ได้จากการทำวิจัยและการเขียนเนื้อหาในบทความทั้งฉบับ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยกองบรรณาธิการและวารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครไม่มีส่วนรับผิดชอบ
  5. บทความที่ได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

 

คำแนะนำในการเขียนบทความวิจัย (Research Article)

การจัดทำบทความต้นฉบับ กำหนดจำนวนหน้าระหว่าง 10-12 หน้า ตามแบบฟอร์มที่วารสารกำหนด

ให้พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word รูปแบบตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้ใช้แบบตัวอักษร TH Sarabun PSK

 

          ก. ส่วนนำ

  1. ชื่อบทความ (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรชัดเจน กระชับ ครอบคลุมเนื้อหาของเรื่อง (อักษรขนาด 14 ตัวหนา)
  2. ชื่อผู้นิพนธ์ (Authors) ระบุชื่อ-นามสกุลของผู้นิพนธ์ทุกคนโดยไม่ใส่คำนำหน้าชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไม่เกิน 4คน) ใส่ตัวเลขยกไว้บนนามสกุลของผู้นิพนธ์ตามลำดับ พร้อมใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) ไว้หลังเลขยกบนนามสกุลผู้ประสานงานหลักขนาดตัวอักษรขนาด 14 ปกติ ส่วนในเชิงอรรถ ระบุตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานที่สังกัดของผู้นิพนธ์ที่ปรากฎชื่อในบทความต้นฉบับ ใส่เลขยกไว้บนนามสกุลของผู้นิพนธ์ ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และระบุไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ของผู้ประสานงานหลัก ตามลำดับ ขนาดอักษรขนาด 12 ปกติ
  3. บทคัดย่อ (Abstract) และคำสำคัญ (Keywords) เขียนบทคัดย่อให้ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย ผลและวิจารณ์ และสรุป โดยเน้นประเด็นสำคัญของเรื่อง และกำหนดคำสำคัญของเรื่องเพื่อใช้สืบค้นในฐานข้อมูลจำนวน 3-5 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความของบทคัดย่อและคำสำคัญใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ

 

         ข. ส่วนเนื้อหา

  1. บทนำ (Introduction) อธิบายถึงความสำคัญ สถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาและที่มาที่นำไปสู่การวิจัย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และวัตถุประสงค์ในการวิจัย หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในบทนำใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  2. วัตถุประสงค์ (Objective) เป็นการกำหนดประเด็นในการทำวิจัย แบ่งเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในวัตถุประสงค์ใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  3. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นการอธิบายถึง วิธีการ ขั้นตอนในการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ โดยให้กระชับและชัดเจน หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในระเบียบวิธีวิจัยใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  4. ผลการวิจัย (Research Result) อธิบายถึงผลการวิจัยที่ค้นพบตามลำดับของวัตถุประสงค์และวิธีการวิจัยที่กำหนด อาจมี แผนภูมิ รูปภาพ และตารางผลการวิจัย ประกอบคำอธิบาย หัวข้อใช้อักษรขนาด 16 ตัวหนา ข้อความในผลการวิจัยใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  5. อภิปรายผล (Discussion) เป็นการวิจารณ์ผลที่เป็นข้อค้นพบที่สำคัญ พร้อมอ้างอิงผลการวิจัยที่มีผู้ศึกษามาก่อนทั้งที่สอดคล้องและหรือไม่สอดคล้อง พร้อมเหตุผลตามหลักวิชาการเพื่อเป็นแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในอภิปรายผลใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  6. องค์ความรู้ใหม่ (Originality and Body of Knowledge) เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้มาเป็นแนวทางที่ก่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ ในด้านแนวทางการปฏิบัติ การส่งเสริมและการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น อาจนำเสนอในรูปแบบแผนภาพมโนทัศน์ หรือโมเดล พร้อมคำอธิบาย หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในองค์ความรู้ใหม่ใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  7. สรุป (Conclusion) เป็นการสรุปสาระสำคัญของการวิจัย หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในสรุปใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  8. ข้อเสนอแนะ (Recommendation) ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในด้านข้อเสนอแนะจากการวิจัย และข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในข้อเสนอแนะใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  9. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) (ถ้ามี) ระบุสั้น ๆ ว่าได้รับการสนับสนุนทุนและความช่วยเหลือจากแหล่งใดบ้าง หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในกิตติกรรมประกาศใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  10. เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้นิพนธ์ได้ใช้อ้างอิงในบทความที่เขียน โดยใช้ตามแบบ APA 7th ทุกการอ้างอิงที่ปรากฏในเนื้อหาต้องมีในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ซึ่งการอ้างอิงในเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงทั้งบทความจะต้องตรงกัน โดยห้ามใส่เอกสารอ้างอิงบทความโดยปราศจากการอ้างอิงในเนื้อบทความ และต้องมีการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ รายละเอียดของเอกสารอ้างอิง หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในเอกสารอ้างอิงใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ

 

คำแนะนำในการเขียนบทความวิชาการ (Academic Article)

การจัดทำบทความต้นฉบับ กำหนดจำนวนหน้าระหว่าง 10-12 หน้า ตามแบบฟอร์มที่วารสารกำหนด ให้พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word รูปแบบตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้ใช้แบบตัวอักษร TH Sarabun PSK

 

          ก. ส่วนนำ

  1. ชื่อบทความ (Title) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรชัดเจน กระชับ ครอบคลุมเนื้อหาของเรื่อง (อักษรขนาด 14 ตัวหนา)
  2. ชื่อผู้นิพนธ์ (Authors) ระบุชื่อ-นามสกุลของผู้นิพนธ์ทุกคนโดยไม่ใส่คำนำหน้าชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไม่เกิน 4 คน) ใส่ตัวเลขยกไว้บนนามสกุลของผู้นิพนธ์ตามลำดับ พร้อมใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) ไว้หลังเลขยกบนนามสกุลผู้ประสานงานหลักขนาดตัวอักษรขนาด 14 ปกติ ส่วนในเชิงอรรถ ระบุตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานที่สังกัดของผู้นิพนธ์ที่ปรากฎชื่อในบทความต้นฉบับ ใส่เลขยกไว้บนนามสกุลของผู้นิพนธ์ ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และระบุไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ของผู้ประสานงานหลัก ตามลำดับ ขนาดอักษรขนาด 12 ปกติ
  3. บทคัดย่อ (Abstract) และคำสำคัญ (Keywords) กล่าวถึงบริบทพอสังเขป ความสำคัญที่ศึกษา สรุปประเด็นเนื้อหาที่นำเสนอ กระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย และกำหนดคำสำคัญของเรื่องเพื่อใช้สืบค้นในฐานข้อมูลจำนวน 3-5 คำ หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ข้อความของบทคัดย่อและคำสำคัญใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ

 

         ข. ส่วนเนื้อหา

  1. บทนำ (Introduction) อธิบายถึงความสำคัญ สถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงการทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ที่เกี่ยวข้อง บอกความสำคัญหรือที่มาของปัญหาที่นำไปสู่การศึกษา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในบทนำใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  2. วัตถุประสงค์ (Objective) เป็นการกำหนดประเด็นในการทำศึกษา แบ่งเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในวัตถุประสงค์ใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  3. เนื้อเรื่อง บริบทความเป็นมาประเด็นปัญหาที่สนใจ แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถเชื่อมโยงกันได้เพื่อให้ได้เป็นเป็นแนวทางพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ควรแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อยให้เข้าจได้ง่าย มีภาพ กราฟ แผนภูมิ มาประกอบพร้อมคำอธิบาย หัวข้อใช้อักษรขนาด 16 ตัวหนา ข้อความในบทนำใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  4. องค์ความรู้ใหม่ (Originality and Body of Knowledge) เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้มาเป็นแนวทางที่ก่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ ในด้านแนวทางการปฏิบัติ การส่งเสริมและการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น อาจนำเสนอในรูปแบบแผนภาพมโนทัศน์ หรือโมเดล พร้อมคำอธิบาย หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในองค์ความรู้ใหม่ใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  5. สรุป (Conclusion) สรุปสาระสำคัญที่ได้ให้ครอบคลุม กระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย หัวข้อใช้อักษรขนาด 16 ตัวหนา ข้อความในบทนำใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  6. ข้อเสนอแนะ (Recommendation) ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในด้านข้อเสนอแนะจากการศึกษา และข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในข้อเสนอแนะใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  7. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) (ถ้ามี) ระบุสั้น ๆ ว่าได้รับการสนับสนุนทุนและความช่วยเหลือจากแหล่งใดบ้าง หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในกิตติกรรมประกาศใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ
  8. เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้นิพนธ์ได้ใช้อ้างอิงในบทความที่เขียน โดยใช้ตามแบบ APA 7th ทุกการอ้างอิงที่ปรากฏในเนื้อหาต้องมีในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ซึ่งการอ้างอิงในเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงทั้งบทความจะต้องตรงกัน โดยห้ามใส่เอกสารอ้างอิงบทความโดยปราศจากการอ้างอิงในเนื้อบทความ และต้องมีการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ รายละเอียดของเอกสารอ้างอิง หัวข้อใช้อักษรขนาด 14 ตัวหนา ข้อความในเอกสารอ้างอิงใช้อักษรขนาด 14 ตัวปกติ

 

การส่งบทความต้นฉบับ

การส่งต้นฉบับบทความวิจัย/วิชาการฉบับสมบูรณ์ รูปแบบไฟล์ Word และ PDF ผ่านระบบการจัดการวารสารออนไลน์ ThaiJo ลิงก์ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/hecrmutp/index

 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

กองบรรณาธิการวารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

168 ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300

E-mail: hecjournal@rmutp.ac.th

โทร: 0-2665-3777 ต่อ 5234, 5236